ท่ามกลางปัญหาความขัดแข้งและความเกลียดชังที่มีความรุนแรง ในสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลปริมาณมหาศาล ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าต้นตอที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว มาจากคำพูดที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) ที่แทรกซึมและกระจายตัวอยู่บนโซเชียลมีเดียต่างๆ
Hate Speech เป็นการใช้คำพูดที่แสดงอคติทางลบต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อให้เป้าหมายได้รับความเกลียดชังจากคนอื่น จนบางครั้งถูกตีตราว่าไม่เป็นที่ต้องการของสังคม มักพุ่งเป้าโจมตีหรือขยายต่อไปยังอัตลักษณ์ร่วมของกลุ่มในสังคม เช่น เชื้อชาติ สีผิว ศาสนา อาชีพ

โดยเป้าหมายของ Hate Speech นั้น ทำเพื่อการแบ่งแยก และขจัดคนอีกกลุ่มออกไป ผ่านการคุกคามหรือใช้ความรุนแรง จนอาจขยายสู่การขับไล่ไม่ให้มีที่ยืนในสังคม

ผู้ที่มักตกเป็นเหยื่อของ Hate Speech มักถูกกระทำจากการมีอัตลักษณ์ที่มีความแตกต่างกับบุคคลส่วนมาก เช่น ศาสนาหรือความเชื่อ อุดมการทางการเมือง ภาวะทุพพลภาพ เพศสภาพและเพศวิถี ชนชั้นทางสังคม เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ถิ่นที่อยู่ เป็นต้น
พฤติกรรมที่ทำให้เกิด Hate Speech
- การด่า – ใช้ภาษาที่หยาบคาย รุนแรง ดูถูก และเหยียดหยาม
- การสร้างความเข้าใจผิด – โน้มน้าวใจ ชักจูงให้เชื่อถือด้วยข้อมูลผิด หรืออคติส่วนตัว
- การนิยามคนอื่นในเชิงลดคุณค่า – ทำให้กลายเป้นตัวตลก ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น
- การสื่อสารที่สร้างความรู้สึกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย – แบ่งแยกคนเป็นพวกอย่างชัดเจน
- การสื่อความหมายปฏิเสธการอยู่ร่วมกัน – การกีดกันออกจากสังคม
- การตีตราเหมารวมในทางลบ – ทำให้กลายเป็นคนชายขอบในสังคม
- การยุยงปลุกปั่น – ทำให้ผู้อื่นร่วมเกลียดชังกับผู้ที่เห็นต่าง
- การระดมกำลังไล่ล่า ขู่คุกคาม การลงโทษทางสังคม – รุมประณามอย่างรุนแรงด้วยกลุ่มบุคคล การเนรเทศ หรือนำไปสู่การประกาศเอาชีวิต
วิธีการจัดการกับ Hate Speech บนโลกออนไลน์
- มีการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์กับผู้อื่น โดยไม่คำนึงถึงอัตลักษณ์ที่แตกต่าง
- มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกเกลียดชังบนโลกไซเบอร์
- รายงานการพบเห็นการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังทางออนไลน์ ผ่านช่องทางในสื่อสังคมออนไลน์
- สนับสนุนแนวทางการสื่อสารที่สร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิดการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลาย เพื่อลดอคติและการแบ่งแยกในสังคม
อ้างอิง
http://cclickthailand.com/เมื่อวาจาทำร้ายใจกัน-ก/