“บ่อยครั้งที่เราต้องการหาลำดับของข้อมูลตัวเลข เช่น คะแนน ยอดขาย ค่าใช้จ่าย ฯลฯ หากจำนวนข้อมูลมีไม่มาก การตรวจดูด้วยสายตา หรือเรียงลำดับข้อมูลในโปรแกรม Microsoft Excel ก็พอที่จะหาลำดับได้โดยง่าย แต่ในกรณีที่ข้อมูลมีปริมาณมากและมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น เช่น มีจำนวนตัวเลขที่ซ้ำกัน วีธีการข้างต้นก็คงทำได้ยากและใช้เวลานาน…”
อย่างไรก็ดี ในโปรแกรม Microsoft Excel มีฟังก์ชันที่ช่วยความสะดวก ในการหาลำดับของข้อมูลที่เราสนใจว่าอยู่ในลำดับที่เท่าใด หรืออยู่ในลำดับเปอร์เซนไทล์ที่เท่าไร ได้แก่ ฟังก์ชัน RANK.EQ และ PERCENTRANK
กำหนดให้ ตัวอย่างข้อมูลคะแนนของนักเรียน 15 คน ในการหาลำดับที่และลำดับเปอร์เซนไทล์ ดังนี้

การหาลำดับที่ (Rank) โดยใช้ฟังก์ชัน RANK.EQ
มีรูปแบบการใช้งานดังนี้
=RANK.EQ(number, ref, [order]) หรือ =RANK.EQ(number, ref)
โดยมีการระบุค่าดังนี้
- number คือ ช่องเซลล์ที่ต้องการหาลำดับ
- ref คือ กลุ่มเซลล์ของข้อมูลทั้งหมดที่ต้องการหาลำดับ
- [order] คือ ลักษณะการเรียงลำดับ ได้แก่
- 0-Descending (ค่ามาก มีลำดับที่สูงกว่า)
- 1-Ascending (ค่าน้อย มีลำดับที่สูงกว่า)
***กรณีไม่ระบุ [order] ฟังก์ชันจะทำการเรียงลำดับแบบ 0-Descending เป็นค่าเริ่มต้น
ผลลัพธ์ที่ได้ จากการหาลำดับด้วยฟังก์ชัน RANK.EQ เป็นตัวเลขจำนวนเต็มที่แสดงลำดับของข้อมูลที่เราสนใจ หากมีข้อมูลที่อยู่ในอันดับเดียวกันซ้ำ จะมีการเลื่อนลำดับให้เองโดยอัตโนมัติ
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน RANK.EQ
หากต้องการหาลำดับของนักเรียนชื่อ A (เซลล์ C2) จากตัวอย่างคะแนนนักเรียนทั้งหมด 15 คน (ช่วง C2:C16) ใช้กำหนดค่าของฟังก์ชัน RANK.EQ ดังนี้

เพื่อให้สะดวกในการทำ AutoFill สามารถใส่สัญลักษณ์ $ หน้าตัวเลขระบุแถวของช่วงข้อมูลคะแนนนักเรียน 15 คน เพื่อตรึงแถวของช่วงข้อมูล

ผลลัพธ์ของการหาลำดับของคะแนนนักเรียน 15 คนเป็นดังนี้

การหาลำดับเปอร์เซนไทล์ (Percentile Rank) โดยใช้คำสั่ง PERCENTRANK
มีรูปแบบการใช้งานดังนี้
=PERCENTRANK(array, x, [significance]) หรือ =PERCENTRANK(array, x)
โดยมีการระบุค่าดังนี้
- array คือ กลุ่มเซลล์ของข้อมูลทั้งหมดที่ต้องการหาลำดับเปอร์เซนไทล์
- x คือ ช่องเซลล์ที่ต้องการหาลำดับเปอร์เซนไทล์
- [significance] คือ ตำแหน่งทศนิยม
***กรณีไม่ระบุ [significance] ฟังก์ชันจะมีการแสดงทศนิยมในรูปแบบมาตรฐาน
ผลลัพธ์ที่ได้ จากการหาลำดับเปอร์เซนไทล์ด้วยฟังก์ชัน PERCENTRANK เป็นตัวเลขจำนวนทศนิยม มีค่าตั้งแต่ 0-1 ที่แสดงลำดับเปอร์เซนไทล์ของข้อมูลที่เราสนใจ
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน PERCENTRANK
หากต้องการหาลำดับเปอร์เซนไทล์ของนักเรียนชื่อ A (เซลล์ C2) จากตัวอย่างคะแนนนักเรียนทั้งหมด 15 คน (ช่วง C2:C16) ใช้กำหนดค่าของฟังก์ชัน PERCENTRANK ดังนี้

เพื่อให้สะดวกในการทำ AutoFill สามารถใส่สัญลักษณ์ $ หน้าตัวเลขระบุแถวของช่วงข้อมูลคะแนนนักเรียน 15 คน เพื่อตรึงแถวของช่วงข้อมูล

ผลลัพธ์ของการหาลำดับเปอร์เซนไทล์ของคะแนนนักเรียน 15 คนเป็นดังนี้

สำหรับลำดับเปอร์เซนไทล์ที่ได้ เป็นตัวเลขจำนวนทศนิยม มีค่าตั้งแต่ 0-1 ซึ่งอาจไม่อยู่ในรูปแบบที่นิยมใช้งาน เพื่อให้อยู่ในรูปแบบทั่วไปที่นิยมใช้งาน ที่อันดับเปอร์เซนไทล์มีค่าตั้งแต่ 0-100 จึงต้องทำการคูณ 100 เพิ่มเข้าไปเมื่อมีการใช้ฟังก์ชัน PERCENTRANK ดังนี้

จะได้ผลลัพธ์ของการหาลำดับเปอร์เซนไทล์ที่มีค่าตั้งแต่ 0-100 เป็นดังนี้
